วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนวโน้มอนาคตของ CPU

1. แนวโน้มการพัฒนาซีพียูในอนาคต
            เทคโนโลยีการผลิตซีพียูที่วันนี้ทำได้เล็กเพียงแค่ 0.13 ไมครอน ถึงแม้ว่าอนาคตอันใกล้จะลดขนาดลง เหลือ 0.09 ไมครอน ก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าการพัฒนาในครั้งต่อไปจะยังทำได้ยาก หากแต่การพัฒนาในขณะนี้บริษัทผู้ผลิตซีพียูไม่ว่าจะเป็นยักษ์ใหญ่อย่างอินเทล และยักษ์เล็ก คือ เอเอ็มดี ต่างก็พยายามมองหาสถาปัตยกรรมการออกแบบภายในให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจะเน้นการพัฒนาคล็อก หรือสัญญาณนาฬิกาให้สูงๆ เข้าไว้ แนวโน้มการพัฒนาซีพียูในปัจจุบัน เริ่มจะเน้นไปที่ตลาดไร้สายมากขึ้น เพราะนับจากนี้เป็นต้นไปเป็นยุคของ Mobile Life ที่อุปกรณ์ทุกอย่างต้องสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลกก็ตาม
2. ความเร็วของซีพียู
            ความเร็วของซีพียูจะขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะการทำงาน หรือ วงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกา ทำหน้าที่จ่ายสัญญาณให้กับส่วนต่างๆ เพื่อให้แต่ละส่วนมีการทำงานที่เป็นจังหวะ และจะมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน นอกจากนั้นยังแสดงถึงความเร็วในการประมวลผลอีกด้วย เรียกสัญญาณนาฬิกานี้ว่า “Clock” ซึ่งสัญญาณนาฬิกานี้ก็ คือ ความถี่ในการส่งสัญญาณของแหล่งกำเนิดไปยังส่วนต่างๆ ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นจำนวนรอบต่อวินาทีที่เราเรียกกันว่า เฮิรตซ์” (Hz) โดยความเร็วซีพียูจะมีหน่วยเป็นเมกะเฮิรตซ์ (MHz–ระดับล้านครั้งต่อวินาที) แต่ในปัจจุบันนี้ซีพียูมีความเร็วขยับขึ้นสูงถึงระดับ กิกะเฮิรตซ์ (GHz–ระดับพันล้านรอบต่อวินาที) หากมีความถี่ของสัญญาณนาฬิกาสูง แสดงว่าสามารถประมวลผลได้ที่ความเร็วสูง
3. สถาปัตยกรรมซีพียู
            1. สถาปัตยกรรมแบบ CISC : Complex Instruction Set Computing เป็นสถาปัตยกรรมการออกแบบซีพียูที่ใช้ในเครื่องพีซียูทั่วๆไป จะใช้วิธีการเพิ่มขีดความสามารถของคำสั่งทำให้คำสั่งหนึ่งต้องทำงานเพิ่มขึ้นและซับซ้อนขึ้น ด้วยวิธีนี้ทำให้สถาปัตยกรรมของตัวซีพียูต้องสนับสนุนชุดคำสั่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ประกอบกับไซเคิล (Cycle) การทำงานของแต่ละคำสั่งจะใช้จำนวนไซเคิลไม่เท่ากัน บางคำสั่งทำงานเสร็จภาคในไซเคิลเดียว บางคำสั่งต้องใช้หลายไซเคิล ความคิดนี้จึงกลายมาเป็นคอมพิวเตอร์ในกลุ่ม CISC และความคิดนี้ได้พัฒนาต่อเนื่องมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน จะมีการออกแบบวงจรภายในที่ซับซ้อน แต่ง่ายกับโปรกแกรมเมอร์ในการเรียนรู้คำสั่ง เพราะการประมวลผลทั้งหมดจะกระทำในตัวซีพียูเอง
            2. สถาปัตยกรรมแบบ RISC : Reduces Instruction Set Computing ซีพียูทำงานด้วยไซเคิลที่แน่นอน และลดจำนวนคำสั่งลงให้เหลือคำสั่งพื้นฐานมากที่สุด แล้วใช้หลักการทำงานแบบไปป์ไลน์
(Pipeline) จึงนับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ได้ทำการแก้ปัญหาของ CISC โดยใช้การประมวลผลแบบง่ายๆ แต่หันไปพัฒนาประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์ให้มีความเร็วสูงขึ้น จึงทำงานได้เร็วขึ้นนั่นเอง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น